วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Computer Case

Computer Case คืออะไร

          Case หรือ "เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช้า CPU เมนบอร์ด การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ศีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ใรกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะง่ายขึ้น
          Case คือ ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ห่อหุ้มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ เป็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับฮาร์ดแวร์อื่นๆ เช่น Motherboard HDD CD-DVD PS พัดลมระบายอากาศ และ และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เป็นต้น มีลักษณะ เป็นทรงคล้ายรูปทรงสี่เหลี่ยม มีช่องว่างภายใน ใช้รองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ
          ทำไมต้องมี Case ก็เพราะว่า เวลา ยกไปไหน ก็สะดวก ป้องกันไฟดูด อุปกรณ์ถูกจัดเป็นระเบียบ เก็บไว้ใน Case ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ป้องกันอุปกรณ์เสียหาย เช่น โดนน้ำ โดนหนูเข้าไปอยู่ แมลงสาป รวมไปถึงการป้องกัน คลื่นรบกวนจากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่น ๆ
          บางทีสวยแต่รูปจูบไม่หอมก็มีมากมาย มันขึ้นอยู่กับขนาดของเมนบอร์ดและการใช้งาน โดยจะแบ่งออกเป็น Flex/Micro ATX Case เป็นเคสขนาดเล็ก, Medium Tower Case เป็นเคสที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากขนาดกำลังพอเหมาะ, Server/Tower Case เป็นเคสที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Server มีขนาดใหญ่กว่าเคสที่ใช้กันทั่วไปมาก
          สำหรับวัสดุที่ใช้ทำเคสก็มีหลายประเภท เช่น เคสเหล็ก, เคสโลหะผสม, เคสอะลูมิเนียม, เคสพลาสติก, เคสผสม เคสประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีหลายส่วนครับอันแรกก็จะเป็นฐานรองเมนบอร์ด สำหรับเป็นที่ยึดเมนบอร์ดให้ติดแน่นอยู่กับเคสต่อมาก็จะเป็นปุ่มควบคุมประกอบด้วย ปุ่ม เปิด ปิดเครื่อง และปุ่มรีเซตเครื่องรวมถึงไฟแสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และไฟแสดงสถานะว่าตอนนี้เครื่องทำงานอยู่แล้วก็ลำโพงเล็ก ๆ ที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนข้อผิดพลาดด้วยเสียงมันยังมีช่องสำหรับใส่ไดรฟ์ซีดีรอม, ฟรอบปีดิสก์ไดรฟ์ และช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์และมี Bracket เป็นช่องทางสำหรับอุปกรณ์ต้องเชื่อมต่อภายนอกกับอุปกรณ์อื่นมีช่องระบายความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนมีฝาครอบเคส เป็นฝาที่สามารถ เปิด ปิด ได้เพื่อการติดตั้งอุปกรณ์ภายในเคสมีเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายพลังงาน โดยมากมักมาพร้อมเคสเสมอสุดท้ายก็พอร์ต USB และพอร์ตมัลติมีเดีย ซึ่งจะอยู่ด้านหน้าเคส ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ได้สะดวกขึ้นแล้วการเลือกซื้อเคสจะเลือกอย่างไร การเลือกซื้อเคส คุณต้องเลือกเคสที่รองรับเมนบอร์ดของคุณ ถ้าใช้เมนบอร์ด Pentium 4 ก็ควรเลือกเคส ATX สำหรับ Pentium 4 ซึ่งเป็นหลักการเลือกซื้อเบื้องต้น ต่อจากนั้น ก็ให้คุณเลือกเคสที่มีการออกแบบตรงใจคุณ ต่อจากนั้น ก็ต้องดูด้วยขนาดของเมนบอร์ดว่าเป็นแบบใด แต่ส่วนมากแล้วเคสส่วนใหญ่ ก็สามารถใส่ได้กับเมนบอร์ดทุกรุ่นอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังควรพิจารณาถึงจำนวนช่องสำหรับใส่อุปกรณ์ การติดตั้งพอร์ต USB ด้านหน้าและควรเลือกเคสที่มีระบบระบายความร้อนที่ดี สุดท้ายควรพิจารณาด้วยว่าเพาเวอร์ซัพพลายของเคสรุ่นนี้ เพียงพอกับอุปกรณ์ในเคสหรือไม่ ซึ่งควรใช้เพาเวอร์ซัพพลายขนาด 250 วัตต์ขึ้นไป ผมคิดว่าจะทำให้ท่านผู้อ่านรู้จักเคสดีขึ้นครับ

รูปแบบของ Case

1.Case แนวนอน


2.Case แนวตั้ง


รูปร่างของ เคส(Case) จะแตกต่างไปตามความต้องการออกแบบของผู้ผลิต ส่วนวัสดุที่ใช้ทำเคสนั้น มีทั้งโลหะ พลาสติก อะลูมิเนียม อะคลีลิค และวัสดุผสม

การเลือกซื้อ Case

1. เลือกรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้
          ว่ากันว่า ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ดังนั้น การเลือก Case ก็เช่นเดียวกัน ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้มีผู้ผลิตเคส หลายเจ้าได้ ดีไซน์เคสออกมาในรูปแบบต่าง ๆ สวยงาม น่าสนใจ ดังนั้น ก็เป็นกำไรของผู้บริโภค เช่นเดียวกัน แต่ต้องไม่ลืมว่าใน Case ต้องรองรับ เมนบอร์ด แบบ  ATX, ATX Full size หรือ mATX  ซึ่งเราก็สามารถสอบถามผู้ขายว่า รองรับ ATX ซึ่งก็แน่นอนว่าปัจจุบัน เป็นที่นิยมกัน แต่ก็ต้องดูงบประมาณด้วยนะครับ รวมทั้งดูข้ออื่น ๆ ด้านล่างประกอบด้วย

2. มีความสามารถใช้งานได้ตามความต้องการของคอมพิวเตอร์
          ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ ๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น รองรับเมนบอร์ด, Power Supply, HardDisk รวมทั้งต้องเผื่อไว้ เวลาอัพเกรด ฮาร์ดแวร์ เช่น เพิ่ม Harddisk ต้องมีช่องที่สามารถเพิ่มได้  หรือ แม้กระทั่ง ความสะดวกสบายในการใช้งาน USB ในช่องด้านหน้า ที่สำคัญอีกอย่าง คือ การวางของ Power Subbply และ พัดลมระบายความร้อน ที่ติดมากับเคส ก็ ดูภาพรวมไม่เกะกะ ยุ่งเหยิง จนเกินไป

3. ระบายความร้อนได้ดี
          ต้องเลือก Case ที่มีพัดลมระบายความร้อนด้านข้างหรือด้านบนก็จะเป็นการดี แต่อย่างไรก็ตามให้ติดตั้งเพียงพอเหมาะในการใช้งานเท่านั้น หากใส่พัดลมมากเกินไปก็อาจส่งผลให้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่เพียงพอ เกิดเสียงดังรบกวนจนน่ารำคาญ อีกทั้งทำให้ฝุ่นเข้าไปเกาะตามอุปกรณ์ต่างๆ มากไปอีกด้วย

4. มีความปลอดภัยในการติดตั้ง
          เคสที่ดีต้องมีการเก็บรายละเอียดงานได้พอสมควร ไม่มีเหลี่ยมคมให้บาดมือได้ นอกจากนี้เคสบางรุ่นยังบุแถบยางในจุดที่ต้องสอดมือเข้าไปติดตั้งอย่างเช่น เพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งช่วยป้องกันการถูกบาดหรือขูดกับผิวหนังได้ดีทีเดียว ไฟไม่รั่ว มีสายดินลง Case เพื่อไม่ให้ไฟ ดูด หลายท่านอาจเคยโดนไฟดูดที่ Case ดังนั้น เคสที่ดีต้องมีความปลอดภัยส่วนนี้ด้วย

5. ความสะดวกในการติดตั้งและจัดวางอุปกรณ์
          Case ที่ดี ต้องมีความสะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์ เพราะบางครั้งจะต้องมีการถอดเข้าถอดออก บางคนไม่ค่อยมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์แต่ต้องการติดตั้ง Harddisk เองก็สามารถเปิด อินเตอร์เน็ตแล้วทำตามได้ง่าย ๆ โดยถ้าหากบางคนเลือกซื้อ Case ที่ประกอบอุปกรณ์ยาก แล้วบางที เครื่องเสีย ต้องถอดน๊อตเยอะแยะวุ่นวายไปหมด ลักษณะที่ดึคือ สามารถ เปิดฝาด้านเดียว แล้วสามารถมองและตรวจสอบอุปกรณ์ ทุกตัว เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการ ถอดประกอบแต่ในส่วนของสายไฟ ต้องเป็นเทคนิคส่วนบุคคลที่จะเก็บได้สวยงามและ ละเอียดแค่ไหน ซึ่งทุกวันนี้ เคสบางตัว ในการเพิ่ม Harddisk สามารถเปิดCaseด้านเดียวแล้วใส่ Harddisk เข้าไปในช่อง น๊อตยึดก็จะมีแค่ตัวเดียว อีกด้านหนึ่ง ก็จะล็อกอัตโนมัติ ถือว่าสะดวกสบายมากมายเลยครับ

6. ราคา
          มาถึงเรื่องสำคัญแล้วครับ ราคา ที่ผ่านมาทั้งหมด ถ้าตรง สเปก แต่ราคาสูงเกินไปก็เปลืองครับ ลองมองหาเคสอื่นได้เลย แต่ถ้าถูกเกินไป ก็เสียงต่อ ความเสียหายของอุปกรณ์ ได้ ก็เอาเป็นว่า ราคา ที่พอรับได้กลาง ๆ แล้วกันนะครับ สำหรับผมอยู่ระหว่าง 1200 - 2500 ก็เพียงพอแล้ว เพราะ ไม่ว่าจะเป็นการระบายความร้อน ความทน ความเป็นรบ ใจจริงก็อยากแนะนำ ยี่ห้อให้ด้วย แต่ว่าเดียวจะหาว่าโฆษณาให้เขา ดังนั้น ก็เลือกตาม หัวข้อทั้ง 6 ข้อ ถ้าตรงก็ ซึ้อได้เลยครับ

ที่มา:http://saruth-technology-computer.blogspot.com/

ลำโพง สำหรับคอมพิวเตอร์

                           
ลำโพง(Speaker)

      ทำหน้าที่ถ่ายทอดและขยายสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์กำเนิดเสียงภายในคอมพิวเตอร์เช่น ซาวด์การ์ดและชิปเสียงบนเมนบอร์ดไปยังผู้รับหรือผู้ใช้งาน (ในที่นี้จะขอพูดถึงแต่กับลำโพงแบบมัลติมีเดียที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น) โดยถือเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งสำคัญในระบบเสียง สำหรับชุดลำโพงแบบมัลติมีเดียที่ใช่กับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้



ชุดลำโพงมัลติมีเดียสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป

       รุ่นธรรดาจะเป็นสเตอริโอที่มีแค่ลำโพงซ้าย-ขวาตัวเล็ก 2 ข้าง หรือดีขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นแบบที่มีเครื่องขยายเสียงหรือแอมป์(Amplifier) ในตัว พอเสียบสายต่อเข้ากับการ์ดเสียงก็ใช้ได้เลย (ถ้ามีแอมป์ในตัวอาจต้องเสียบปลั๊กไฟด้วย)




ชุดลำโพงพร้อมซัปวุฟเฟอร์

       เป็นชุดลำโพงแบบ 3 จุด หรือเรียกกันกว่า 2.1 Channel ประกอบด้วยลำโพงแยกเสียงซ้ายขวา 2 จุด และลำโพงเสียงทุ้มหรือซัปวูฟเฟอร์ (Subwoofer) ที่ช่วยเพิ่มเสียงทุ้มให้หนักแแน่นขึ้นอีก 1 จุด บางรุ่นอาจมีปุ่มเพิ่ม/ลดเสียงทุ้ม-แหลมให้คุณปรับเสียงได้ตามใจชอบมาให้ด้วย



ชุดลำโพงมิลติมีเดียแบบดิจิตอล

       เป็นชุดลำโพงที่รับเอาสัญญาญเสียงแบบดิจิตอลจากพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ และขนายเสียงให้ดังออกลำโพงโดยตรง ซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่านการ์ดเสียงเหมือนกับลำโพงมัลติมีเดียแบบอนาล็อกหรือแบบธรรมดาทั่วๆไป


ชุดลำโพงระบบเสียงรอบทิศทาง (Surround Speakers System)


      เป็นชุดลำโพงชุดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยลำโพงตั้งแต่ 5-8 จุด (มีทั้งระบบ 4.1, 5.1, 6.1, และ 7.1Channel ) แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ



1.ประเภทที่ตัวถอดรหัส
      ประกอบด้วยตัวถอดรหัสสัญาณเซอร์ราวดิ์ทั้งระบบ Dolby Digtal และ DTS หรือ Dolby Pro-Logic+แอมป์ขยายเสียง+ชุดลำโพงเซอร์ราวด์ เวลาใชช้งานเพียงต่อช่อง S/PDIF หรือ Digital Out จากการ์ดเสียงที่ให้สัญญาณเซอร์ราวด์ในระบบ 5.1 CH ขึ้นไปเข้าตัวรหัส เพียงดื้านี้ก็จะได้ชุดโฮมเธียเตอร์ขนาดย่อมๆไว้ใช้งานแล้ว

2.ประเภทที่ไม่มีตัวถอดรหัส 
      ประกอบด้วยแอมป์ขยายเสียง + ชุดลำโพงเซอร์ราวด์ เวลาใช้งานเพียงต่อช่อง Lin Out จากการ์ดเสียงที่ให้สัญญาณเซอร์ราวด์ในระบบ 5.1 CH ขึ้นไปเข้าที่ภาคขยายเสียงถายในชุดลำโพง เพียงเท่านี้เท่านี้ก็จะได้ระบบเสียงแบบเซอร์ราวด์รอบทิศทางในราคาย่อมเยา

ที่มา:http://computerdodee.blogspot.com/2009/11/speaker.html