วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การ์ดแสดงผล

การ์ดแสดงผล (Display หรือ VGA Card) มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

      การ์ดแสดงผลอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ์ดวีดีโอหรือการ์ดจอ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำผล การประมวลจากซีพียูไปแสดงบนจอภาพ การ์ดแสดงผลมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไป ใช้งาน ถ้าหากเป็นการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งานในสำนักงาน ใช้อินเตอร์เน็ต อาจใช้การ์ดแบบ 2 มิติ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นการ เล่นเกมใช้โปรแกรมประเภทกราฟิก 3 มิติ ก็ควรเลือกการ์ดจอ ที่จะ ช่วยแสดงผลแบบสามมิติหรือ 3D การ์ด
      การ์ดจอบางแบบอาจถูกออกแบบติดไว้กับเมนบอร์ด โดยเฉพาะเมนบอร์ดแบบ ATX ซึ่งมี อยู่หลายยี่ห้อที่ได้รวมการ์ดจอเข้ากับเมนบอร์ด อาจสะดวกและ ประหยัด แต่หากพูดถึงประสิทธิภาพ โดยรวมของเครื่องแล้ว อาจจะไม่ดีเท่ากับการ์ดที่แยกต่างหากจากเมนบอร์ด ซึ่งอาจแบ่งช่วงของการ ใช้การ์ดจอได้ดังนี้

1.การ์ดจอแบบ ISA และ VL 
      เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า 386 และ 486 รุ่นแรกๆ การ์ดรุ่นนี้ สามารถ แสดงสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น การดูภาพ จึงอาจจะไม่สมจริงเท่าไรนัก เพราะขาดสีบางสีไป



2.การ์ดจอแบบ PCI 
      เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ 486 รุ่นปลายๆ เช่น 486DX4-100 และเครื่องระดับ เพนเทียมหรือคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 MHz ถึง ประมาณ 300 MHz จะมีความเร็ว ในการแสดงผลสูงกว่าการ์ดจอแบบ ISA


3.การ์ดจอแบบ AGP 
      เป็นการ์ดจอที่แสดงผลได้เร็วที่สุด เริ่มใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น AMD K6-II/III, K7, Duron, Thunderbird, Athlon XP, Cyrix MII, MIII, VIA Cyrix III, Pentium II, III, IV และ Celeron เป็นการ์ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันการ์ดจอบางรุ่นจะมีช่อง TV Out สามารถต่อสายไปยังทีวีได้ กรณีที่ต้องการดูหนังหรือร้อง คาราโอเคะ ก็ต่อเข้าจอ 29" ร้องกันให้สะใจไปเลย


4.การ์ดจอแบบ 3 มิติ 
      การ์ดจอสำหรับงานกราฟิค เล่นเกมสามมิติ ตัดต่อวีดีโอ ราคาแพงกว่าการ์ด จอสามประเภทแรก และผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคอเกมเมอร์ทั้งหลาย เพราะคนใช้งาน ทั่วๆ ไป อย่างเราๆ การ์ดธรรมดา ก็พอแล้ว มันแพงครับ บางตัว 20,000 กว่าบาท เกือบซื้อเครื่องดีๆ ได้อีกตัว การ์ดจอต่างๆ เหล่านี้จะมี ตัวประมวลผล (GPU) ช่วยประมวลผลหรือคำนวณเกี่ยวกับการสร้างภาพให้ปรากฏบนจอ ซึ่งจะทำให้ การแสดงภาพทำได้ดีมากกว่าการ์ดจอทั่วๆไป จึงต้องมีพัดลมช่วยระบายความร้อน ด้วยการ์ดจอแบบนี้ อาจมีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการเชื่อมต่อแบบ PCI หรือ AGP แต่ส่วนใหญ่ในตอนนี้จะเป็นแบบ AGP มากกว่า





      ตัวอย่างการ์ดจอ 3 มิติ Asus V7700 Ultra, Winfast GF2 Ultra, Hercules 3D Prophet II Ultra, Ati Radeon All-In-Wonder เป็นต้น
      สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับการ์ดจอก็คือ การ์ดจอนั้นๆ เป็นแบบ ISA, PCi หรือ AGP และ เป็นการ์ดแบบ 2 มิติหรือ 3 มิติ ซึ่งต้องมีพัดลมระบายความร้อนด้วย

การเลือกซื้อการ์ดจอ
      การเลือกซื้อการ์ดจอให้ดูที่เมนบอร์ดก่อนว่ารองรับการ์ดจอแบบใด และก็ดูที่จุดประสงค์ในการ นำการ์ดจอมาใช้งานด้วย ถ้าใช้ทำงานทั่วๆ ไป ก็ไม่มีปัญหา ใช้การ์ด จอทั่วๆ ไปได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเล่นเกม ต้องการ์ดจอแบบ 3 D ส่วนท่านใดที่เป็นครู อาจารย์ วิทยากร อาจเลือกแบบที่มี TV Out เพื่อต่อ ออกทีวีเวลาบรรยาย

ที่มา:http://www.siamebook.com/lbro/basic-computer/34-01001/3880-computer-display-card.html

เมนบอร์ด

เมนบอร์ด
Mainboard  เมนบอร์ด หรืออีกชื่อที่หลายๆคนเรียกและข้างกล่องว่ามาเธอร์บอร์ด (Motherboard) เมนบอร์ดมีความสำคัญควบคู่กับซีพียู เมนบอร์ดนั้นมีทำหน้าที่ทำงานในการควบคุมและดูแลการทำงานต่างๆของอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆในคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ การ์ดจอ และแรม ส่วนมากเมนบอร์ดในปัจจุบันจะเป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็พัฒนาไปมากเช่นกัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิ่มประสิทธิภาพของเมนบอร์ดให้ดียิ่งขึ้น และมีสีสันที่ดูดี สวยงาม โดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองนั้นจะเลือกสีสันตามที่ตัวเองชอบ

สำหรับเมนบอร์ดสามารถที่จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทั้งภายนอกและภายในจึงต้องมีช่องสำหรับการเชื่อมต่อต่างๆเข้าด้วยกัน  และสามารถจะรองรับการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันในบางรุ่นหรือว่ามีส่วนประกอบที่แตกต่างกันความสามารถที่จะทำงานก็ต่างกันด้วย  
เรามารู้จักส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญและควรรู้ที่มีในเมนบอร์ดกัน
   1.ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นและตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราใส่ ฉะนั้นควรเลือกให้ตรงกันด้วย
   2.พอร์ต ที่ใช้ในการเชื่อมต่อทางด้านหลังของทุกเครื่องจะมีพอร์ตในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ภายนอก ซึ่งแต่ละรูพอร์ตก็จะมีรูเสียบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น พอร์ตสำหรับเสียบ USB 3.0 และ 2.0 ที่มีความเร็วสูง พอร์ตสำหรับเสียบ HDMI, พอร์ตแลนเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และพอร์ตเสียงที่สามารถเสียบกับลำโพง ไมค์ และเครื่องบันทึกเสียงอื่นได้ มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง
      1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก 
      2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล 400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก 
      3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน                                              4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
      5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
      6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง ทั้งไมค์
   3.สล็อต AGP ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล มีทั้ง AGP และ PCI Express เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
   4.สล็อต PCI ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ
   5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
   6.ซิปเซต ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด โดยจะมีซิปเซตอยู่ส่วนด้วยกันคือ
–   North Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
–   South Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
   7.หัวต่อSATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
   8.หัวต่อแบบ IDE ใช้ในการเชื่อต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
   9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า จากพาวเวอร์ซับพราย โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ แถว
   10.ซ็อกเก็ตแรม ช่องที่มีไว้ใส่แรม โดยจะมีทั้งในแบบ Dual Channel และ Triple Channel

   11ตัวเชื่อมปุ่มควบคุมใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์ และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
   12.ตัวต่อ USB ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น

รูปแบบของเมนบอร์ด
เมนบอร์ดในปัจจุบันมีรูปแบบที่มีหลายขนาด เพื่อตอบสนองในการใช้งานปัจจุบัน เราสามารถเลือกที่จะใช้ทั้งแบบเล็ก หรือแบบใหญ่ตามที่เราต้องการ

  1.ATX ( Advanced Technology Extended ) เป็นเมนบอร์ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีขนาดที่ 12 x 9.6 นิ้ว เป็นเมนบอร์ดตัวใหญ่ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีต เพราะว่าขนาดของมันที่ใหญ่จึงสามารถเพิ่มใส่อุปกรณ์ต่างๆได้มากขึ้นกว่าชนิดอื่นๆ และสามารถระบายความร้อนได้อย่างดีเพราะมีการออกแบบให้อุปกรณ์ภายในเมนบอร์ดนั้นสามารถที่จะระบายอากาศได้อย่างลงตัว และยังสามารถที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นแรมที่สามารถใส่ได้มากกว่า ช่อง หรือการ์ดจอที่สามารถใส่ได้มากกว่า ตัวนั้นเอง

  2.Micro ATX จะมีขนาดที่เล็กลงมาจาก ATX เนื่องจากว่ามีขนาดที่เล็กลงจึงสามารถอุปกรณ์อื่นๆได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ขนาดเล็กลงนั้นก็สามารถลดการใช้พลังงานด้วยเช่นกัน จะมีขนาดประมาณ 9.6 และสามารถใช้งานกับเคสคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงมาหน่อยได้ เป็นการประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน

  3.Mini-ITX (Information Technology Extended) เป็นเมนบอร์ดที่มีรูปแบบเล็กกว่าสองแบบแรก ด้วยความที่ต้องการประหยัดเนื้อที่ให้เล็กลงอีก การใช้พลังงานก็ต่ำลงด้วยเช่นกันเนื่องจากมีอุปกรณ์ที่มาพร้อมกันอย่างสัญญาณ WIFI และมีช่องต่อต่างๆที่จำเป็นเท่านั้น และมีข้อจำกัดในการเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆเข้าไปส่วนมากหลายอย่างนั้นจะมาในตัวแล้วยกเว้นแค่ แรม ซีพียู และฮาร์ดดิสก์เท่านั้น หากต้องการเมนบอร์ดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ของคุณ จำเป็นต้องใช้รุ่น Micro ATX ขึ้นไป

Power Supply

Power Supply


Power supply มีด้วยกัน 4 ชนิด  

1.Unregulated  (หรือเรียกอีกอย่างว่า brute force)
     Unregulated  power  supply  นั้นเป็นแบบธรรมดา ซึ่งประกอบไปด้วย transformer, rectifier และ low-pass filter โดยทั่วไป power supplies ชนิดนี้ จะจ่ายค่า voltage ไม่คงที่ และยังมีสัญญาณ AC มารบกวนในขณะที่จ่ายไฟ DC   ถ้าค่าอินพุท voltage ไม่คงที่ ก็จะทำให้ค่าเอาท์พุท voltage ที่จ่ายออกมาไม่คงที่ไปด้วย
 ข้อดี ของ unregulated supply  ก็คือ ราคาถูก ใช้งานง่าย  และมีประสิทธิภาพ


2.Linear regulated
     Linear regulated supply  ก็คือ  unregulated  power  supply  ตามด้วยวงจรทรานซิสเตอร์ที่ทำงานในโหมด "active"  หรือ "linear"  ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า linear regulator โดยทั่วไป linear regulator ถูกออกแบบมาให้จ่ายค่า voltage ตามที่กำหนดสำหรับ input voltages ย่านกว้าง และมันจะลดค่า input voltage ที่เกินมาเพื่อให้สามารถจ่ายค่า output voltage สูงสุดให้แก่โหลด ผลจากการลดค่า input voltage ที่เกินมา  แสดงออกมาในรูปของความร้อน แต่ถ้า input voltage ลดต่ำลง จะทำให้วงจรทรานซิสเตอร์สูญเสียการควบคุม นั้นหมายถึงว่ามันไม่สามารถรักษาระดับ voltage มันทำได้เพียงแค่ลดค่า voltage ที่เกินมาเท่านั้น ไม่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการลดลงของ voltage ที่มาจากภาค brute force ของวงจร เพราะฉะนั้นท่านต้องรักษาระดับของ input voltage ให้สูงกว่า output ที่ต้องการอย่างน้อย 1 ถึง 3 volts ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของ regulator นั้นหมายถึงว่าพลังงานได้จากวงจร regulator จะมีค่าเท่ากับ อย่างน้อย 1 ถึง 3 volts คูณกับกระแสของโหลดทั้งหมด และปลดปล่อยความร้อนออกมามาก จากสาเหตุนี้ทำให้ regulated power supplies ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ และจากการที่ต้องระบายความร้อยที่เกิดขึ้นทำให้มันต้องใช้ตัวระบายความร้อนขนาดใหญ่ส่งผลให้มันมีขนาดใหญ่  หนัก และ ราคาแพง


3.Switching
     Switching regulated power supply ("switcher")   เกิดจากความพยายามรวมข้อดีของการออกแบบทั้ง brute force and linear regulated power supplies ( เล็ก , มีประสิทธิภาพ , และถูก  อีกทั้งยัง "สะอาด", voltage ที่จ่ายออกมาก็คงที่ ) การทำงาน ของ switching power supplies ใช้วิธีการปรับค่าของ AC power line voltage ที่เข้ามาให้เป็น DC แล้วเปลี่ยนมันให้เป็น square-wave AC ที่มีความถี่สูง  โดยผ่าน transistors ที่ทำงานเหมือนสวิทช์เปิด-ปิด แล้วปรับค่า AC voltage ขึ้น-ลง โดยใช้ lightweight transformer จากนั้นเปลี่ยนค่า AC output ให้เป็น DC แล้วกรองสัญญาณก่อนจ่ายค่าออกไป การปรับค่า voltage ทำได้โดยการปรับที่ หม้อแปลงด้าน primary เพื่อเปลี่ยน duty-cycle ของ DC-to-AC inversion เหตุผลที่
switching power supplies มีน้ำหนักเบากว่าแบบอื่นก็เนื่องมาจากแกนของหม้อแปลงที่มีขนาดเล็กกว่า
 ข้อดี ของ Switching power supplies ที่ทำให้มันเหนือกว่า 2 แบบแรกคือ power supply แบบนี้สามารถใช้ได้กับระบบไฟฟ้าทุกแบบที่มีในโลกนี้ ด้วยเหตุนี้มันจึงถูกเรียกว่า "universal" power supplies.

  ข้อเสีย ของ switching power supplies คือมันค่อนข้างซับซ้อนมากกว่า และ ดูจากการทำงานของมันจะเห็นว่ามันจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวน AC ที่มีความถี่สูงกับสายไฟมาก Switching power supplies ส่วนใหญ่เวลาจ่ายค่าออกมาก็มี voltage ไม่คงที่เช่นกัน Switching power supplies ที่มีราคาถูกนั้นก็มีสัญญาณรบกวนและค่าไม่นิ่ง แย่พอๆ กับ unregulated power supply  ถ้าพูดถึงพวก low-end switching power supplies แล้วก็ไม่ถึงกับไม่มีค่า เพราะมันก็ยังสามารถให้ output voltage ที่คงที่ และมีคุณสมบัติของ "universal" input
สำหรับ Swithching power supplies ที่มีราคาแพงนั้น ไฟที่จ่ายออกมาจะนิ่งและ มีสัญญาณรบกวนน้อยพอๆกับ แบบ linear ราคาก็แพงใกล้เคียงกับ linear supplies เหตุผลในการเลือกใช้ switching power supplies ที่มีราคาแพง แทนที่จะใช้ linear power supplies ที่ดีๆ ก็คือในกรณีที่ต้องการใช้กับ universal power system หรือต้องการประสิทธิภาพสูง น้ำหนักเบา  และ ขนาดที่เล็กคือ เหตุผลที่ switching power supplies ถูกใช้อย่างกว้างขวางในพวกวงจรคอมพิวเตอร์ที่เป็นดิจิตอล

4.Ripple regulated
    เป็นการผสมผสานกันระหว่าง "brute force" กับ "switching" โดยรวมเอาข้อดีของทั้งสองแบบไว้ในตัวมันเอง Ripple-regulated power supply เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกแบบวงจร linear regulated: "brute force" power supply (transformer, rectifier, and filter) ประกอบไปด้วย ส่วนหน้าของวงจร แต่ทรานซิสเตอร์ก็ทำงานในโหมด on/off (saturation/cutoff) โดยทำหน้าที่ส่งผ่าน DC power ไปยัง คาปาซิสเตอร์ขนาดใหญ่ เพื่อรักษาระดับ output voltage ให้อยู่ในช่วงสูง และต่ำของค่าที่กำหนด เช่นเดียวกับใน switching power supply เมื่ออยู่ในโหมด "active" หรือ "linear" ทรานซิสเตอร์ ที่อยู่ใน ripple regulator นั้นไม่ยอมให้กระแสผ่านไปได้ หมายความว่าจะมีพลังงานเพียงเล็กน้อยที่จะสูญเสียออกมาในรูปของความร้อน อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของวงจร Regulation คือ การกระเพื่อมของ voltage ที่จ่ายออกไปซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น DC voltage ผันผวนระหว่างค่า voltage ที่ตั้งไว้สองค่า รวมถึงการกระเพื่อมของ voltage ที่แปรผันไปตามความถี่ของ กระแสของโหลด ซึ่งจะส่งผลให้การกรองสัญญาณ DC power เป็นไปได้ยาก
วงจร Ripple regulator เมื่อเทียบกับวงจร switcher แล้วจะดูไม่ซับซ้อนเท่า และไม่มีความจำเป็นจะต้องรองรับ voltage สูงๆจาก power line เหมือนกับที่ ทรานซิสเตอร์ของ switcher ต้องรองรับ นี้ทำให้มันปลอดภัยในการใช้งาน



CPU

CPU คืออะไร มีกี่ชนิด และมีหลักการทำงานอย่างไร

CPU คือ

    อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ และใช้ในหน่วยประมวลผลและเป็นตัวควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์

ซีพียูที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

     ซีพียูที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นของ  2  คู่แข่งแห่งค่าย  Intel คือ  Celeron, Pentium III  และ Pentium 4  ส่วนค่าย AMD มีซีพียูที่มาแรงคือ  Duron และ Thunderbird

CPU รุ่นที่ยังพอมีใช้งานกันอยู่บ้าง แต่คงไม่มีผลิตออกมาแล้ว

BrandModelSpeedFSBVcoreInterfaceTechonoly
IntelPentium II233-333 MHz66 MHz2.8 V.Slot-10.35Micron MMX L1=32K L2=512K Half Speed
IntelPentium II350-450 MHz100 MHz2.0 V.Slot-10.25Micron MMX L1=32K L2=512K Half Speed
IntelCeleron266-300 MHz66 MHz2.0 V.Slot-10.25Micron MMX L1=32K no L2
IntelCeleron300-533 MHz66 MHz2.0 V.FC-PGA 370 / Slot-10.25 Micron MMX L1=32K L2=128K Full Speed
IntelCeleron II533-766 MHz66 MHz1.50 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=128K Full Speed
IntelCeleron II800-1000 MHz100 MHz1.50 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=128K Full Speed
IntelCeleron II - Tualatin1.0A-1.3A GHz100 MHz1.47 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed
AMDK6-II266-366 MHz66 MHz2.2 V.Socket 70.25Micron MMX 3DNow! L1=64K
AMDK6-II350-500 MHz100 MHz2.2 V.Socket 70.25Micron MMX 3DNow! L1=64K
AMDK6-III400-450 MHz100 MHz2.4 V.Socket 70.25Micron MMX 3DNow! L1=64K L2=256K Full Speed
AMDK6-II+500-550 MHz100 MHz2.0 V.Socket 70.18Micron MMX 3DNow! L2=128K
AMDK6-III+450 MHz100 MHz2.0 V.Socket 70.18Micron MMX 3DNow! L2=256K
AMDAthlon K7500-1000 MHz200 MHz DDR1.60 V.Slot-A0.25Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=512K Half Speed
CyrixC3700-933 MHz??Socket 370?
IntelPentium III450-600 MHz100 MHz / 133 MHz2.0 V.Slot-10.25 Micron MMX SSE L1=32K ECC L2=512K Half Speed
IntelPentium III500-733 MHz100 MHz / 133 MHz1.65 V.FC-PGA 3700.18Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed
IntelPentium III800-1130 MHz133 MHz1.70 V.FC-PGA 3700.18 Micron MMX SSE Ondie L2=256K Full Speed
AMDDuron (Spitfire)600-950 MHz200 MHz DDR1.60 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed
AMDDuron (Morgan)1.0-1.3 GHz200 MHz DDR1.60 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed
AMDAthlon (Thunder-Bird)700-1333 MHz200/266 MHz DDR1.70 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed
IntelCeleron W1.7-2.0 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4230.18 Micron MMX SSE2 L2=128K Full Speed
IntelPentium 4 (423)1.3-1.8 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4230.18 Micron MMX SSE2 L2=256K Full Speed



และ CPU ที่ยังมีขายและใช้งานอยู่ในตลาดขณะนี้

BrandModelSpeedFSBVcoreInterfaceTechonoly
AMDDuron
(New Core)
1.4-1.6 GHz200 MHz DDR1.60 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=64K Full Speed
AMDAthlon XP (Palamino)1500+ to 2600+266 MHz DDR1.75 V.Socket A0.18Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed
AMDAthlon XP (Through-Bred)1700+ to 2800+266 MHz DDR1.50 - 1.60 V.Socket A0.13Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=256K Full Speed
AMDAthlon XP (Barton)2500+ to 3000+333 MHz DDR1.50 - 1.60 V.Socket A0.13Micron MMX E-3DNow! L1=128K L2=512K Full Speed
AMDAthon 64 FX3200+400 MHz DDR?Socket 754Athon 64-bit Core Speed 2.0 GHz L2=1M.
IntelCeleron 4 (Willamette)1.7-2.4 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4780.18Micron MMX SSE2 L1=64K L2=128K Full Speed
IntelPentium 4 (Willamette)1.5-2.0 GHz400 MHz QDP1.70 V.FC-PGA 4780.18Micron MMX SSE2 L1=64K L2=256K Full Speed
IntelPentium 4A (Northwood)1.6-2.2 GHz400 MHz QDP1.50 V.FC-PGA 4780.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed
IntelPentium 4B (Northwood)2.26-3.06 GHz533 MHz QDP1.50 V.FC-PGA 4780.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed
IntelPentium 4C
(Northwood)
2.4-3.2 GHz800 MHz QDP1.50 V.FC-PGA 4780.13Micron MMX SSE2 L1=64K L2=512K Full Speed (HT)


การเลือกซื้อซีพียู
    การเลือกซีพียูมีขั้นตอนง่ายๆในการพิจารณาคือ “ประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการใช้งานของคุณ” กล่าวคือ การจะเลือกซีพียูนั้นให้มองที่การใช้งานประจำวันของคุณเป็นหลัก

ผู้ใช้มือใหม่ เน้นราคาประหยัด
    ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และต้องการความประหยัด รวมถึงการใช้งานพื้นฐานทั่วไป ตั้งแต่ซอฟแวร์สำนักงานสเปรดซีต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต  ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลซับซ้อน และส่วนใหญ่จะประกอบเป็นพีซีในราคาประมาณ 10,000-15,000 บาท โดยซีพียูในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีหลายรุ่นด้วยกัน ได้แก่ Celeron D/ Celeron –L/Pentium 4 จากค่าย Intel และ Sempron64/Athlon64จากทาง AMD ด้วยสนนราคาตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท แต่ในกรณีที่มีงบประมาณสูงขึ้น Pentium Dual Core Athlon 64X2ก็นับเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากทีเดียวในขณะนี้

ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
    Celeron D 420:1.60GH,512KBL2,800MHz,Socket775 ราคา1,300บาท
Athlon 64LE-1600:2.20GHz,102KBL2,SocketAM2ราคา1,750 บาท
Pentium Duo Core E2140:1.60GHz,1024KB L2,800MHz bus,Socket775 ราคาประมาณ 2,550 บาท

กลุ่มนักเล่นเกม
    ในกลุ่มของนักเล่นเกม แม้ว่า ณ วันนี้กราฟิกการ์ดจะเข้ามามีบทบาทมากก็ตาม แต่ลำพังเพียง  GPU  (Graphic Processing Unit) ไม่ได้ทำให้ภาพโดยรวมที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นเกมได้สมบูรณ์เนื่องจากหากขาดซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงไปแล้ว การประมวลผลในด้านของการสร้างองค์ประกอบต่างๆ ภายในภาพและการคำนวณพื้นผิวและสร้างโพลิกกอนก็จะลดลง ซึ่งอาจเกิดอาการกระตุกของภาพ ดังนั้นแล้วซีพียูย่อมเข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับนักเล่นเกมที่เน้นความสวยงามและความต่อเนื่อง โดยในตลาดเวลานี้ก็มีซีพียูอยู่หลายรุ่นด้วยกันที่ช่วยให้การเล่นเกมมีอรรถรสมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซีพียูจากค่ายอินเทลที่ประด้วย  Core 2Duo ในรหัส E4xxx,E6xxx และE8xxxรวมถึง Core2Extreme สำหรับค่ายAMD ก็มีให้เลือกทั้ง Athlon 64X2 และAthlon64FX


ซีพียูที่น่าสนในกลุ่มนี้
    Intel Core 2 Duo E6550 :2.33GHz,4MBL2,13333MHz bus,Socket775,ราคาประมาณ 6,000 บาท
Athlon64X25000+:2.60GHz.512KBx2L2,SocketAM2,ราคาประมาณ4,400 บาท
Athlon64FX-62:2.80GHz,1MBx2L2,SocketAM2, ราคาประมาณ 12,000 บาท


ข้อสังเกต
ซีพียู่ในกลุ่มของ Core 2 Duo จะมีให้เลือก 2 รูปแบบในซีรีส์เดียว ตัวอย่างเช่น E6850 ซึ่งทั้งคู่จะมีความคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันเพียงระบบบัสที่เปลี่ยนจาก 1066MHz มาเป็น 1333MHz แต่ปัจจุบันจะมีเพียง E6550/E6750 และ E6850 ที่จำหน่ายอยู่เท่านั้น

การใช้งานกราฟิกเป็นหลัก 
    ในบรรดากลุ่มผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยกันนั้น กลุ่มของงานกราฟิกและการตัดต่อ นับเป็นกลุ่มที่ต้องการศักยภาพในการทำงานสูงสุด เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นระบบการเข้ารหัสไฟล์วิดีโด การตัดต่อภาพ การเรนเดอร์ออปเจ็กต์สามมิติที่มีขนาดใหญ่ ล้วนแต่พึ่งการทำงานของซีพียูเป็นหลัก ดังนั้นแล้วซีพียูที่ใช้ต้องสามารถตอบสนองต่อการประมวลผลที่ซับซ้อนได้ด ีและมีเทคโนโลยีที่รองรับโปรแกรมเฉพาะทางเหล่านี้ได้ด้วยซึ่งซีพียูที่รองรับการทำงานได้ดีในด้านนี้มีให้เลือกด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Intel Core 2Quad หรือ AMD Phenom ที่เป็นแบบ Quad Core ที่เพิ่งวางจำหน่ายช่วงปลายปี 2550 มานี้

ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
    Intel Core 2 Extreme 9650:3.00GHz,12MB L2 1333MHz bus,Socket 775
Intel Core 2 Quad Q6600:2.40GHz,2MBx4L21066MHz bus, Socket 775 ราคาประมาณ 9,690 บาท
AMD Phenom X4 9500 Quad Core :2.20GHz,512KBx4 L2,Socket AM2+ราคาประมาณ 6,900 บาท

ผู้ที่ชอบความเงียบของไร้เสียงรบกวน
    ผู้ใช้กลุ่มนี้ จะเน้นการทำงานในระดับกลาง สำหรับการชมภาพยนตร์ในแบบโฮมเธียเตอร์และเพียงพอสำหรับการเล่นมีเดียไฟล์คุณภาพสูง (Hi-Def) กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันมากทีเดียว ด้วยรูปแบบของซีพียูที่กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำจึงทำให้ออกแบบการระบายความร้อนได้ง่ายขึ้น รวมถึงการใช้พัดลมน้อยลงเกิดเสียงดังรบกวนที่น้อยเนื่องจากมีเทคโนโลยี Enhance SpeedStep หรือ Cool”n  Quietจึงลดความร้อนในการทำงานลง สามารถใช้ในเคสคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้อีกด้วย ซีพียูที่น่าสนใจมีด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Athlon X2 BE2xxx Series หรือซีพียูรุ่นใหม่จากอินเทลในแบบ 45nm ก็ตาม


     Intel Processor
     AMD Processor
ProcessorCodeProcessorCode
Celeron D3xx/ 4xxSempron64LE11xx
Pentium 45xx/ 6xxAthlon64LE16xx
Pentium Dual CoreE2xxxAthlon64/ AthlonX2X23000-6000+/ BE16xx
Core 2 DuoE4xxx/ E6xxxAthlonFX/ OptreonFX-xx/ 1xx, 2xx, 4xx, 6xx
Core 2 Extreme/ Core 2 QuardQX6xxx/ Q6xxx

ตรวจสอบความถูกต้องของซีพียูง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง
  • ดูจาก Properties ด้วยการคลิกขวาที่ My Computer จะบอกรุ่นซีพียูไว้ที่หน้าต่าง General
  • ใช้โปรแกรม CPUz ที่ดาวน์โหลดได้จาก www.cpuid.com/cpuz.php ซึ่งจะบอกรายละเอียดของซีพียูได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว แคช ฟีเจอร์
องค์ประกอบและเงื่อนไขในการรับประกัน
    การรับประกันเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ทีเดียว โดยเฉพาะกับซีพียูที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวและมีราคาที่สูง หากเกินความเสียหายหรือมีอาการผิดปกติขึ้นในระหว่างการใช้งานส่วนของการรับประกันจะจำเป็นมากทีเดียว โดยส่วนใหญ่การรับประกันจะมีตั้งแต่ 1-5 ปี ขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายแต่ละรายกำหนดไว้ ซึ่งสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตามการประกันก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้จำหน่ายด้วย โดยส่วนใหญ่ที่เป็นมาตรฐานก็คือไม่แตกหักเสียหาย ด้วยกายภาพภายนอกหรือไม่เกิดจากการไหม้หรือระเบิด รวมไปถึงบางรายจำเป็นต้องนำอุปกรณ์ต่างๆในกล่องมายืนยันด้วยอันประกอบไปด้วย การ์ดรับประกัน พัดลมและตัวซีพียู แต่ในบางครั้งก็ใช้เพียงซีพียูและ Serial Number มายืนยันเท่านั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จำหน่าย

เเหล่งที่มา : wissanu-technology-computer.blogspot.com

printer

printer มีกี่ชนิด อะไรบ้าง


   1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)  
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ        
ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับ   จำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอต  แมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ ถึง หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อป+++ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ


2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)  
เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ
    เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร



3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)  
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ
หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่ 300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง 



4. พล็อตเตอร์ (plotter)  
พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม (เขียนลงบนกระดาษไข) และงานตกแต่งภายใน สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก
พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Secon : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ 

RAM

RAM

ประเภทของแรม (RAM)










      โดยทั่วไปสามารถแบ่ง RAM ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ Static RAM (SRAM) และ Dynamic RAM(DRAM) โดยมีรายระ เอียดดังนี้

 1. Static RAM (SRAM)













      ทำจากวงจรที่ใช้เก็บข้อมูลด้วยสถานะ มีไฟกับ ไม่มีไฟซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่ 
นิยมไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัว CPU เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาด ความจุสูงๆได้ เนื่องจากราคาแพงและกินกระแสไฟมากจนมักทำให้เกิดความร้อนสูง อีกทั้งวงจรก็ยังมีขนาดใหญ่ด้วย

 2. Dynamic RAM (DRAM)

















      ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ มีประจุกับ ไม่มีประจุซึ่งวิธีนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า SRAM มาก แต่โดยธรรมชาติแล้ว ประจุไฟฟ้าจะมีการรั่วไหลออกไปได้เรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ DRAM สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีกระแสไฟเลี้ยงวงจรอยู่ จึงต้องมีวงจรอีกส่วน หนึ่งคอยทำหน้าที่ เติมประจุไฟฟ้าให้เป็นระยะๆ ซึ่งเรียกกระบวนการเติมประจุไฟฟ้านี้ว่าการ รีเฟรช (Refresh)
หน่วยความจำ ประเภท DRAM นี้ นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปอที (Integrated Circuit) บนแผงโมดูลของ หน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR, DDR2, DDR3 และ RDRAM เป็นต้น โดยสามารถออกแบบให้มีขนาดความ จุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง

ชนิดของ Dynamic RAM (DRAM)
      DRAM 
ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่วย ความจำหลัก ของระบบชนิดต่างๆในปัจจุบันดังนี้

2.1 SDRAM (Synchronous Dynamic RAM)

      SDRAM คือหน่วยความจำแรมที่พัฒนามาจาก DRAM เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบัสความเร็วสูงได้ โดยบริษัท Samsung เป็นผู้ พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1993 ซึ่งหน่วยความจำก่อนหน้านี้ใช้ระบบบัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของ CPU กับหน่วยความจำใช้ สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กันจึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยี CPU ต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้น มา
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC66 (66 MHz), PC100 (100 MHz), PC133 (133 MHz), PC150 (150 MHz) และ PC200 (200 MHz) แต่ว่าเมื่อเทคโนลียีแรมพัฒนาขึ้นอีก SDRAM ก็มีผู้ใช้น้อยลง จนในปัจจุบัน SDRAM ถือว่าเป็น เทคโนโลยีที่เก่าไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น

2.2 DDR SDRAM (Double Date Rate SDRAM)

      DDR SDRAM คือ หน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว ที่ได้รับการพัฒนาและยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SDRAM ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาด ความยาวของแผงโมดูลเท่ากัน คือ 5.25 นิ้ว จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกับ SDRAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ DDR-RAM สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 200 MHz ขึ้นไปได้ และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูล เพิ่มขึ้น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เทียบกับ SDRAM ปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกา เพียงด้านเดียว
แรมชนิดนี้สังเกตุได้จากติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา และเขี้ยวที่ด้านสัมผัสทองแดงมีอยู่ที่เดียว แตกต่างจาก SDRAM ที่มีอยู่ 2 ที่ ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลด์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง

      การจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา๗ x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่า อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth) ที่มีหน่วยความจำเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วยเช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความ กว้างของบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบสัญญาณ นาฬิกา)เท่ากับอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3,200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง
ความเร็วบัสในปัจจุบันมีใหเเลือกใช้ตั่งแต่ PC2100 (DDR-266), PC2700(DDR-33), PC3600 (DDR-450), PC4000(DDR-500),PC4200(DDR-533) ไปจนถึง PC5600 (DDR-700)

2.3 DDR-II SDRAM

      ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Gril Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่าแบบ TSOP อีกทั่ง ยังสามารถออกแบบให้ตัวชิปมีขนาดเล็กแะบางลงได้ ชิปดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมี จำนวนขาทั่งสิ้น 240 ขา ใช้แรงดันไฟเพียง1.8โวลต์ รองรับความจุได้สูงสุดถึง 4 GB ความเร็วบัสในบัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั่งแต่ 200 MHz (DDR2- 400) ไปจนถึง 450 MHz (DDR2-900)
รุ่นของ DDR-II นอกจากจำแนกออกตามความเร็วของบัสที่ใช้งาน เช่น DDR2-667 (667 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 333 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ด้วย เช่น PC2-5400 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์) x 333 MHz ( ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ระรอบของสัญญาณนาฬิกา๗ เท่าอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 5,400 MB/s โดยประมั่นเอง นอกจากนี้ยังมี รุ่นอื่นๆอีกเช่น PC2-4300 (DDR-533),PC2-6400(DDR2-800) และ PC2-7200 (DDR2-900) เป็นต้น

      สำหรับ DRAM ชนิดนี้ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนคาดว่าในอีกไม่นานจะเข้ามาแทนที่มาตรฐานเดิมคือ DDR SDRAM ในที่ สุด

2.4 RDAM (RAMBUS DRAN)

      ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Rambus lnc โดยนำมาใช้งานครั้งแรกร่วมกับชิปเซ็ต i850 และซีพียู Pemtium 4 ของ Intel ในยุคเริ่มต้น ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยชิปเซ็ตและเมนบอร์ดของ Intel เพียงบางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ CSP (Chip-Scale Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ RIMM (Rambus Inline Memory Module) ที่มีร่อง บากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ และรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 2 GB ปัจจุบัน RDRAM ที่มีวางขายในท้องตลาด สามารถ แบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
RDRAM (16
บิต) เป็น RDRAM แบบ Single Channel ที่มีความกว้างบัส 1 แชนแนลขนาด 16 บิต (2ไบต์) มีจำนวลขาทั้งสิ้น 184 ขา การจำแนกรุ่นโดย มากจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น PC-800 (800 MHz),PC-1066 (1,066 MHZ) และ PC-1200 (1,200 MHz) เป็นต้น
RDRAM(32
บิต) เป็น RDRAM แบบ Dual Channel ที่มีความกว้างบัส 2 แชแนลขนาด 32 บิต (4ไบต์) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 242 ขา การจำแนกรุ่นโดยมากจะจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ที่ได้รับ เช่น RIMM 3200(PC-800),RIMM 4200(PC-1066),RIMM 4800(PC-1200) และ RIMM 6400 (PC-1600) เป็นต้น
นอกจากนี้ในอนาคตยังอาจพัฒนาให้มีความกว้างบัสเพิ่มมากขึ้นถึง 4 แชนแนลขนาด 64 บิต(ไบต์) ที่ทำงานด้วย ความเร็วบัสสูงถึง 1,333 และ 1,600 MHz effective ออกมาด้วย โดยจะให้แบนด์วิดธ์มากถึง 10.6 และ 12.8 GB/s ตามลำดับ